• วิทยาลัยเทคโนโลยีอาเซียนบริหารธุรกิจ
    10/8 ซ.สุนทรภู่4 ต.วังหว้า อ.แกลง จ.ระยอง 21110

  • วิทยาลัยเทคโนโลยีอาเซียนบริหารธุรกิจ
    10/8 ซ.สุนทรภู่4 ต.วังหว้า อ.แกลง จ.ระยอง 21110

  • วิทยาลัยเทคโนโลยีอาเซียนบริหารธุรกิจ
    10/8 ซ.สุนทรภู่4 ต.วังหว้า อ.แกลง จ.ระยอง 21110

  • วิทยาลัยเทคโนโลยีอาเซียนบริหารธุรกิจ
    10/8 ซ.สุนทรภู่4 ต.วังหว้า อ.แกลง จ.ระยอง 21110

  • วิทยาลัยเทคโนโลยีอาเซียนบริหารธุรกิจ
    10/8 ซ.สุนทรภู่4 ต.วังหว้า อ.แกลง จ.ระยอง 21110

  • วิทยาลัยเทคโนโลยีอาเซียนบริหารธุรกิจ
    10/8 ซ.สุนทรภู่4 ต.วังหว้า อ.แกลง จ.ระยอง 21110

  • วิทยาลัยเทคโนโลยีอาเซียนบริหารธุรกิจ
    นางสาวกนกพิชญ์ อักษรคิด 2019

  • วิทยาลัยเทคโนโลยีอาเซียนบริหารธุรกิจ
    นางสาวกนกพิชญ์ อักษรคิด 2019

  • วิทยาลัยเทคโนโลยีอาเซียนบริหารธุรกิจ
    10/8 ซ.สุนทรภู่4 ต.วังหว้า อ.แกลง จ.ระยอง 21110

  • วิทยาลัยเทคโนโลยีอาเซียนบริหารธุรกิจ
    10/8 ซ.สุนทรภู่4 ต.วังหว้า อ.แกลง จ.ระยอง 21110

  • วิทยาลัยเทคโนโลยีอาเซียนบริหารธุรกิจ
    10/8 ซ.สุนทรภู่4 ต.วังหว้า อ.แกลง จ.ระยอง 21110

  • วิทยาลัยเทคโนโลยีอาเซียนบริหารธุรกิจ
    10/8 ซ.สุนทรภู่4 ต.วังหว้า อ.แกลง จ.ระยอง 21110

  • วิทยาลัยเทคโนโลยีอาเซียนบริหารธุรกิจ
    10/8 ซ.สุนทรภู่4 ต.วังหว้า อ.แกลง จ.ระยอง 21110

  • วิทยาลัยเทคโนโลยีอาเซียนบริหารธุรกิจ
    10/8 ซ.สุนทรภู่4 ต.วังหว้า อ.แกลง จ.ระยอง 21110

กฎหมายอาเซียน

การศึกษากฎหมายของไทยสู่ประชาคมอาเซียน

ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 สร้างความตื่นตัวในสังคมในการที่ประเทศไทยต้องปรับเปลี่ยนให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนได้อย่างเต็มภาคภูมิ แต่ทว่าภาคส่วนใดไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ ย่อมไม่อาจต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้
อาเซียนก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ในปี 2510 โดยมีความมุ่งประสงค์ในการก่อตั้งเพื่อรักษาความมั่นคงในภูมิภาคและต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ ด้วยนโยบายการต่างประเทศที่เปลี่ยนไปของรัฐสมาชิกอาเซียน ทาให้พัฒนาการของอาเซียนแปรเปลี่ยนไปจากการมุ่งเน้นเรื่องการเมืองเพิ่มเรื่องด้านเศรษฐกิจและเปิดรับรัฐสมาชิกเพิ่มเติม จากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้มาร่วมมือกันเพื่อให้ภูมิภาคนี้เกิดความมั่นคงและความมั่งคั่ง
นอกจากนี้ จุดเปลี่ยนของอาเซียนที่สาคัญอีกประการ คือการประกาศใช้กฎบัตรอาเซียนในปี2551 เปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กร(Legal and Institutional framework) ของอาเซียน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการดาเนินการตามหลักการ วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย ที่ถูกรวบรวมในตราสารต่างๆของอาเซียน ให้เป็นระบบและมีความชัดเจนมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนเพื่อรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)ภายในปี 2558 ตามที่ผู้นาอาเซียนได้ตกลงกันไว้โดยจะประกอบด้วย 3 เสาหลัก (Pillars) ได้แก่ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community : ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) และประชาคมสังคมวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC)
หลักการสาคัญของกฎบัตรอาเซียนมี 3 ประการ คือ
1.อาเซียนเป็นองค์กรที่มีสถานะเป็นนิติบุคคล (Legal Personality) ตามกฎหมายระหว่างประเทศ กล่าวคือ อาเซียนมีความสามารถในการกระทาการต่างๆ และเรียกร้องสิทธิของตนภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศและตามกฎหมายภายในของรัฐสมาชิก
2.อาเซียนเป็นองค์กรที่มีนิติกรรม (Rule of Law) กล่าวคือ การกระทาใดๆ ของอาเซียนต่อไป จะต้องมีกฎหมายรองรับ จึงทาให้การกระทานั้นชอบด้วยกฎหมาย
3.อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (People-Oriented) กล่าวคือ นโยบายต่างๆ ต้องตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน มิใช่มาจากรัฐบาลแต่เพียงผู้เดียวรวมทั้งที่มาของการกาหนดนโยบายยังต้องมาจากประชาชนเพื่อประชาชนเอง
จากหลักการสาคัญของกฎบัตรอาเซียนกฎหมายจึงมีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของอาเซียนด้วยการใช้เป็นเครื่องมือในการก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียน ดังนั้นในฐานะที่ประเทศไทยเป็นรัฐสมาชิกอาเซียน จึงส่งผลให้การศึกษากฎหมายของไทยย่อมต้องมีการพัฒนาการและเรียนรู้ให้ทันต่อการเปลี่ยนเป็นประชาคมอาเซียน
แนวคิดดั่งเดิมที่ประเทศไทยดารงเอกราชในทางศาลและกระบวนการยุติธรรม มีบทบัญญัติให้ใช้กฎหมายไทยและภาษาไทยเป็นภาษาราชการ การศึกษากฎหมายจึงให้ความสาคัญต่อบทบัญญัติของกฎหมายไทยที่ใช้บังคับใช้ในราชอาณาจักรไทย ในส่วนของกฎหมายระหว่างประเทศก็ไม่ผูกพัน ตราบใดที่ยังไม่มีกระบวนการแปลงกฎหมายระหว่างประเทศนั้นให้เป็นกฎหมายภายใน ซึ่งจากัดแต่เพียงในส่วนของกฎหมายศุลกากรและการค้าระหว่างประเทศ
การที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จึงนาไปสู่การพัฒนาการศึกษากฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเพื่อตอบสนองต่อการรวมตัวกันของรัฐสมาชิก กฎหมายของอาเซียนจึงเป็นเครื่องมือในการดาเนินกิจกรรมต่างๆที่มีผลผูกพันกับรัฐสมาชิกอาเซียน การศึกษากฎหมายจึงไม่อาจจากัดแต่เพียงกฎหมายภายในเพียงอย่างเดียว เพราะกฎหมายในยุคนี้พรมแดนไม่อาจเป็นเครื่องมือขวางกั้นได้เสมอไปสภาพบังคับของกฎหมายอาเซียนจึงกระทบต่อประเทศในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ดังนั้น แนวทางการศึกษากฎหมายจึงต้องพัฒนาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีที่มุ่งวิชาที่นาไปสู่เนติบัณฑิต โดยไม่ให้ความสาคัญต่อกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายของชาติสมาชิกอาเซียนจึงไม่เพียงพอ เนื่องมาจากผลกระทบทางด้านกฎหมายของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนต่อไปในอนาคต คือ การทาข้อตกลงยอมรับวิชาชีพซึ่งกันและกัน (Mutual Recognition Agreement) อันเป็นการตอบสนองจุดมุ่งหมายในการเคลื่อนไหวของผู้ประกอบวิชาชีพอย่างเสรี ในอนาคตผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายในอาเซียน ก็จะสามารถประกอบวิชาชีพนี้ในประเทศต่างๆ ของอาเซียนได้ เพราะเมื่อได้มีการยอมรับมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพได้อย่างเท่าเทียมกันแล้ว โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการของอาเซียน
อาชีพบริการด้านกฎหมาย เช่น ทนายความที่ออกใบอนุญาตว่าความให้แก่คนสัญชาติไทยย่อมเปลี่ยนแปลง เพราะปัจจุบันมีนักศึกษากฎหมายที่มาจากประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนเข้ามาเรียนกฎหมายในประเทศไทยมากเพิ่มขึ้นการสอบใบอนุญาตว่าความในอนาคตจึงไม่อาจจากัดได้แต่เพียงคนสัญชาติไทยเท่านั้น ซึ่งการออกกฎระเบียบใดเพิ่มเติมต้องไม่ใช้เหตุผลทางด้านสัญชาติเป็นเหตุในการเลือกปฏิบัติอีกต่อไป
นอกจากนี้ ประเด็นข้อพิพาททางกฎหมายที่เกิดขึ้นหลังมีประชาคมอาเซียน ย่อมเพิ่มมากขึ้นตามการผลักดันให้รัฐสมาชิกมีการทาการค้าขายกันมากเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีการผูกพันกันตามประชาคมความมั่นคง และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมหากปราศจากกฎเกณฑ์สากลที่ทาให้ประชาชนในอาเซียนยอมรับข้อขัดแย้งย่อมไปสามารถยุติได้โดยสงบสุข การศึกษาของศาลและอัยการจึงจาเป็นต้องทาความเข้าใจกฎหมายต่างประเทศและระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอีกประการหนึ่งด้วย เพื่อที่คาพิพากษาของศาลระหว่างรัฐสมาชิกอาเซียนต้องมาความสอดคล้องกัน เพราะความยุติธรรมต้องเสมอภาคกันในทุกพื้นที่ แนวคาพิพากษาของศาลจึงต้องพิจารณาความสอดคล้องกับแนวทางของอาเซียนด้วย
ในส่วนของนักวิชาการที่มุ่งเน้นศึกษากฎหมายเปรียบเทียบของชาติตะวันตกเป็นหลักโดยเฉพาะชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษหรือฝรั่งเศสเป็นแม่แบบในการพัฒนากฎหมายภายในของประเทศไทย โดยละเลยการให้ความสาคัญต่อการศึกษากฎหมายเปรียบเทียบระหว่างรัฐสมาชิกอาเซียนอย่างจริงจัง จึงต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดด้วยการเติมเต็มองค์ความรู้ของรัฐสมาชิกอาเซียน เพื่อแสวงหาแนวทางกฎหมายอาเซียนอย่างแท้จริงต่อไปในอนาคต ซึ่งเป็นสิ่งสาคัญและจาเป็นอย่างยิ่งต่อการศึกษาและพัฒนาการทางด้านกฎหมาย เพื่อแสดงจุดยืนและอัตลักษณ์ของอาเซียน
ด้วยเหตุนี้บทบาทของคณะนิติศาสตร์จึงต้องเตรียมความพร้อมในการให้ความรู้แก่บัณฑิตในการประกอบวิชาชีพนักกฎหมายต่อไปในอนาคตที่มีความรู้วิชาชีพกฎหมายให้สอดคล้องกับยุคประชาคมอาเซียนได้อย่างทัดเทียมกับรัฐสมาชิกอื่นหากการศึกษากฎหมายของไทยยังไม่เปลี่ยนแปลงยึดติดกับเพียงกฎหมายภายใน เรียนรู้แต่ภาษาไทยและไม่ให้ความสาคัญต่อภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาทางการของอาเซียน นักกฎหมายไทยในอนาคตก็จะไม่สามารถที่จะใช้วิชาชีพตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้ และช่องทางการให้บริการด้านกฎหมายก็จะตีบตันลง
การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้วยการปรับปรุงและพัฒนาการกฎหมายที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ย่อมเป็นก้าวเดินและนาพาให้ประเทศไทยสามารถมีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของอาเซียนอย่างเต็มภาคภูมิ